เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2566 ที่กระทรวงการคลัง นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ได้มีการเปิดเผยว่า กรณีรัฐบาลจะออก พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) กู้เงิน 5 แสนล้านบาท ในโครงการดิจิทัล วอลเล็ตนั้น อยู่ระหว่างรับฟังความเห็นเบื้องต้นจากสำนักงานกฤษฎีกา ขณะนี้กระทรวงการคลังกำลังร่าง พ.ร.บ.อยู่ หากแล้วเสร็จจะเสนอกฤษฎีกาอย่างเป็นทางการอีกครั้ง คาดว่าจะเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ภายในปี 2566
กระทรวงการคลังได้รับโจทย์จากรัฐบาล มีหน้าที่มาตั้งคณะทำงาน ขับเคลื่อนโครงการให้สำเร็จ ให้เกิดประโยชน์กับประชาชน และรัฐบาล มีความเชื่อว่า ขณะนี้สถานการณ์เศรษฐกิจไทยไม่ค่อยดี ดูแล้วการดำเนินงานแบบปัจจุบัน อาจทำให้เดินไปไม่ถึงเป้าหมายในการพัฒนาเศรษฐกิจ จะติดปัญหาในอนาคต ที่จะไม่มีงบใช้ในสวัสดิการต่าง ๆ หรือปัญหาทางการคลัง การชำระหนี้สาธารณะ ดังนั้นประเทศมีความจำเป็นต้องใชเงิน เศรษฐกิจไม่มีทางโตทันการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น
ส่วนที่หลายฝ่ายให้ความเห็นว่า รัฐบาลเลือกทางกู้เงิน เพื่อหาทางล้มโครงการนั้น ยืนยันว่าไม่ได้คิดเช่นนนั้น เป็นไปไม่ได้ คณะทำงานไม่ได้มีการทำแผนสำรองกรณี พ.ร.บ.เงินกู้ไม่ผ่าน เพราะเชื่อมั่นว่าจะผลักดันได้สำเร็จ อย่างไรก็ดี ถ้า พ.ร.บ.เงินกู้ ผ่านแล้ว สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) จะเป็นผู้ออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อรองรับการกู้เงินต่อไป โดยจะออกพันธบัตรตามการใช้เงินจริง หรือออกพันธบัตรรัฐบาลก็ต่อเมื่อร้านค้าได้ทำการถอนเงินดิจิทัลเป็นเงินสดเท่านั้น
นอกจากนี้ รมช.คลัง ยังได้กล่าวอีกว่า เงื่อนไขในการรับเงินดิจิทัลวอตเล็ต 10,000 บาท รัฐบาลระบุให้คนไทยที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป มีรายได้ได้ต่ำกว่า 70,000 บาท/เดือน และมีเงินฝากต่ำกว่า 500,000 บาทนั้น ในส่วนของเงินฝากจะนับเฉพาะเงินฝากในระบบธนาคารทุกบัญชีเท่านั้นไม่รวมสลากออมทรัพย์ การลงทุนในหุ้น การลงทุนในกองทุนในตลาดหลักทรัพย์ บัญชีเงินฝากในสหกรณ์แต่อย่างใด
กรณีที่มีบัญชีเงินฝากร่วมกันเงินในบัญชีจะถูกหารทันทีตามรายชื่อ ไม่อยากให้ประชาชนเคลื่อนย้ายเงินโดยไม่มีพื้นฐานทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามที่การรัฐบาลกำหนดเกณฑ์เช่นนี้ เพราะต้องการสร้างกติกาขึ้นมาไม่ได้อยากจะตัดสิทธิ์คนรวยในโครงการรับเงินดิจิทัล แต่ปัจจุบันมีกระแสสังคม นักวิชาการออกมาคัดค้านกลุ่มคนรวย ก็เข้าใจได้ว่าไม่มีใครพึงพอใจ 100%
ส่วนกรณีที่ประชาชนบางรายบอกว่า 500,000 บาท เก็บเงินมาทั้งชีวิตก็ถูกของเขาแต่ถ้ามีเงิน 500,000 บาทแล้ว หยิบเงินมาใช้ 10,000 บาทก็ได้ และมองว่าไม่เป็นภาระ ยืนยันว่ารัฐบาลมีระบบตรวจสอบเงินในบัญชีของประชาชนทั้งธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินของรัฐตามฐานภาษีได้ ไม่ได้ขัดต่อข้อกฎหมาย