นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยความคืบหน้าโครงการเงินดิจิทัล 10,000 บาท หลังการประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต ว่า ที่ประชุมมีข้อสรุปจัดเจนในหลายประเด็น แต่ในบางประเด็นยังมีข้อขัดแย้ง ซึ่งจะเสนอให้ที่คณะกรรมการชุดใหญ่ ซึ่งมีนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง เป็นประธาน เคาะรายละเอียดอีกครั้งในสัปดาห์หน้า โดยมติที่ยังมีความเห็นไม่ตรงกันนั้น ได้แก่ กลุ่มเป้าหมายที่จะได้รับสิทธิเงินดิจิทัล 10,000 บาท
โดยมีข้อเสนอแนะในการกำหนดกลุ่มผู้ที่จะได้รับสิทธิ ซึ่งต้องการให้ตัดกลุ่มคนรวยออก คณะกรรมการก็รับฟังและมีการปฏิบัติตาม โดยมีความเห็นการแบ่งเกณฑ์การรับเงินดิจิทัล 3 แนวทาง ดังนี้ จ่ายเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ซึ่งมีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จำนวน 15-16 ล้านคน ใช้งบประมาณ 1.6 แสนล้านบาท พิจารณาให้ตัดกลุ่มคนที่มีความพร้อมทางสังคม มีรายได้เดือนละ 25,000 บาท หรือมีเงินฝากในบัญชี 1 แสนบาท จะเหลือผู้ที่ได้รับสิทธิ 43 ล้านคน ใช้งบประมาณ 4.3 แสนล้านบาท พิจารณาตัดผู้ที่มีรายได้เกินเดือนละ 50,000 บาท หรือมีเงินฝากในบัญชี 5 แสนบาท จะเหลือผู้ได้รับสิทธิ 49 ล้านคน ใช้งบประมาณ 4.9 แสนล้านบาท
ทั้ง 3 แนวทางนี้ เราจะเสนอให้คณะกรรมการชุดใหญ่ที่มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธานตัดสินใจอีกครั้ง โดยจะมีการส่งเรื่องไปสัปดาห์หน้า ส่วนจะมีการนัดประชุมกันเมื่อไหร่นั้น จะต้องรอติดตามต่อไป” ทั้งนี้ ได้ข้อสรุปเกณฑ์รัศมีการใช้จ่ายได้ในระดับอำเภอ ซึ่งไม่ได้มีขนาดใหญ่เกินไปที่จะมีการกระจุดตัวของเม็ดเงิน และยังมีร้านค้าเพียงพอให้ประชาชนจับจ่ายใช้สอย โดยระบบการขึ้นเงินของร้านค้านั้น จะต้องเป็นร้านค้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) นิติบุคคล และบุคคลธรรมดาที่อยู่ในระบบภาษี
ขณะที่การยืนยันตัวตนมีความเห็นตรงกันว่า จะต้องดำเนินการตามกฎหมายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดยผู้ที่เคยได้ใช้สิทธิโครงการของรัฐผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ แล้วไม่ต้องยืนยันตัวตน ต้องยืนยันตัวตนเฉพาะผู้ที่ไม่เคยเข้าร่วมโครงการเท่านั้น ขณะที่ร้านค้าที่ต้องการเข้าร่วมโครงการเปิดให้ทั้งบุคคลธรรมดา นิติบุคคล กองทุนหมู่บ้าน วิสาหกิจชุมชน รวมทั้งสินค้าสำหรับอุปโภคบริโภค เป็นต้น สำหรับการดำเนินงานในช่วงเริ่มต้นของโครงการที่จะใช้ พ.ร.บ.งบประมาณปี 2567 นั้น อาจจะให้โครงการเติมเงินดิจิทัล 10,000 บาท ดำเนินการได้ล่าช้า ตามที่ร่างพ.ร.บ.งบประมาณมีผลบังคับใช้ล่าช้า จึงเป็นไปได้ว่าโครงการเติมเงินดิจิทัล จะเริ่มดำเนินการได้ในช่วงเดือน เมษายน-พฤษภาคม 2567
นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง ในฐานะประธานกรรมการคณะอนุกรรมการดิจิทัล วอลเล็ต เปิดเผยว่า ที่ประชุมมีความเห็นปรับเงื่อนไขการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ให้สามารถใช้ได้ภายในอำเภอ จากเดิมแค่รัศมี 4 กิโลเมตร เพราะเห็นว่าเป็นพื้นที่ไม่ใหญ่เกินไป มีร้านค้าเพียงพอ นายจุลพันธ์ กล่าวว่า ยอมรับว่ายังมีความเห็นแตกต่างในที่ประชุม ที่ไม่สามารถหาข้อสรุปได้ ซึ่งต้องเสนอคณะกรรมการชุดใหญ่ ที่มีนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง ประชุมตัดสินใจ ในสัปดาห์หน้า เพราะมีมุมมองที่แตกต่าง “มาตรการนี้มีความคิดเห็นเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งตั้งเป้ากระตุ้นเศรษฐกิจ ต้องการให้คนเข้าร่วมจำนวนมาก อีกข้อเสนอก็มีข้อเสนอให้เอาคนรวยออก คณะทำงานก็ต้องพยายามหาคำจำกัดความ”
ทั้งนี้ จะให้คณะกรรมการตัดสินใจรวม 3 ทางเลือก คือ
1.ให้สิทธิ์เฉพาะผู้ยากไร้ราว 15-16 ล้านคน โดยใช้ฐานข้อมูลจากบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ใช้งบประมาณราว 1.5 แสนล้านบาท
2.ตัดกลุ่มผู้มีเงินเดือนเกิน 25,000 บาท และ/หรือ มีบัญชีเงินฝากเกิน 1 แสนบาทออก เหลือผู้ได้สิทธิ์ 43 ล้านคน ใช้งบประมาณราว 4.3 แสนล้านบาท
3.ตัดกลุ่มผู้มีเงินเดือนเกิน 50,000 บาท และ/หรือ มีบัญชีเงินฝากเกิน 5 แสนบาทออก เหลือผู้ได้สิทธิ์ 49 ล้านคน ใช้งบประมาณราว 4.9 แสนล้านบาท “เมื่อมีความเห็นต่าง เป็นหน้าที่คณะกรรมการชุดใหญ่ตัดสินใจ คณะอนุกรรมการ จะไปดูแต่ละกลุ่มครอบคลุมเท่าไหร่ และเสนอคณะกรรมการชุดใหญ่ตัดสินใจรายละเอียด”
สำหรับประเด็นการยืนยันตัวตน เป็นไปตามสิทธิ์ ครอบคลุมทั้ง บุคคลธรรมดา นิติบุคคล กองทุนหมู่บ้าน และวิสาหกิจชุมชน ใช้จ่ายได้ประเภทสินค้าอุปโภคบริโภคเป็นหลัก ส่วนระบบการขึ้นเงินได้ร้านค้าระบบภาษี 3 ประเภท ทั้งร้านค้าในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม เงินได้นิติบุคคล และบุคคธรรมดา
นายจุลพันธ์ กล่าวว่า ยอมรับว่าแนวโน้มน่าจะดีเลย์ในระดับหนึ่งจากเดิมวันที่ 1 ก.พ.2567 แต่มีเวลาเตรียมตัวมากขึ้น ในเรื่องความปลอดภัย กระบวนการทดสอบระบบก็มากขึ้น ส่วนเท่าไหร่ขอพิจารณาก่อน ขณะที่เงินที่ใช้โครงการนี้คาดว่าจะมาจากงบประมาณเป็นหลัก ไม่ใช้เงินจากธนาคารออมสิน