เปิดภาพดาวเทียม มวลอากาศเย็นมาปะทะกับมวลอากาศร้อน ทำให้เกิดการยกตัวรุนแรง - khaofesbuk.com

Wednesday, October 11, 2023

วันที่ 11 ตุลาคม 2566 กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ภาคเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

สำหรับบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองในระยะนี้ไว้ด้วย

ทั้งนี้เนื่องจากร่องมรสุมเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบนโดยมีบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือด้านตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และทะเลจีนใต้ ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคง พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย

ล่าสุดกรมอุตุนิยมวิทยา วิเคราะห์สาเหตุเกิดฝนฟ้าคะนองเช้าวันนี้(11/10/66) จากภาพถ่ายดาวเทียม เรดาร์และพยากรณ์ลมที่ระดับ 700hPa (สูงจากพื้นดินประมาณ 3 กม.) เช้าตรู่วันนี้ (11/10/66) : กทม.และปริมณฑล ฝนฟ้าคะนองมาตั้งแต่เช้า เคลื่อนตัวจากตะวันออกไปทางตะวันตก ลมระดับ 700 hPa มีทิศทางเป็นลมตะวันออกเฉียงใต้ ฝนฟ้าคะนองที่เกิดขึ้นเป็นสภาพอากาศที่เกิดช่วงเปลี่ยนฤดู ลมเปลี่ยนทิศทาง ภาคเหนือ อีสานตอนบนลมหนาวเริ่มพัดลงมาปกคลุม

เมื่อมวลอากาศเย็นมาปะทะกับมวลอากาศร้อน ทำให้เกิดการยกตัวรุนแรงเกิดเป็นฝนฟ้าคะนอง บริเวณภาคอีสานตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก กทม.และปริมณฑล ลมทางด้านอันดามันยังเป็นลมทิศตะวันตกเฉียงใต้ บริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออก

เรียบเรียง มุมข่าว

เปิดภาพดาวเทียม มวลอากาศเย็นมาปะทะกับมวลอากาศร้อน ทำให้เกิดการยกตัวรุนแรง