กัณวีร์ เชียร์ ก้าวไกล ยึดเก้าอี้รองประธานสภา ชี้ทำงานได้เต็มที่กว่าผู้นำฝ่ายค้าน
เมื่อวันที่ 24 ส.ค.2566 ที่รัฐสภา นายกัณวีร์สืบแสง สส.บัญชีรายชื่อ และเลขาธิการพรรคเป็นธรรม ให้
สัมภาษณ์ถึงการเตรียมตัวเป็นฝ่ายค้านร่วมกับพรรคก้าวไกลว่า ยังไม่ได้คุยกันแบบทางการ มีเพียงพูดคุยนอก
รอบวันประชุมสภา ถึงการทำงานให้เต็มที่เพื่อผลักดันร่างกฎหมายที่ค้างอยู่ ร่างกฎหมายที่เป็นของภาคประชาชน
รวมถึงการตรวจสอบถ่วงดุลรัฐบาลในกลไกขอ ง ส ภ าฯ พร้อมทำงานร่วมกับภาคประชาชน ภาคประชาสังคม
เพราะประชาชนคือศูนย์กลางของระบอบประชาธิปไตยทั้งนี้ พรรคเป็นธรรมพร้อมใช้ประสบการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน
มนุษยธรรม ผลักดันร่วมกับพรรคก้าวไกลในเรื่องร่างกฎหมายและญัตติ ขณะนี้ได้เสนอญัตติให้ตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.)
วิสามัญเพื่อพิจารณาปัญหาชายแดนภาคใต้ รวมถึงญัตติที่เกี่ยวกับผู้ลี้ภัย ตนเชื่อว่าจะทำงานกับพรรคก้าวไกลได้
เนื่องจากมีอุดมการณ์เหมือนกันด้านมนุษยชน และมนุษยธรรม อย่างไรก็ตาม การเสนอเรื่องต่างๆ เข้าสู่สภา
ตนไม่กังวลหากแพ้มติ เพราะเป็นกลไกของนิติบัญญัติ และเมื่อแพ้โหวตต้องใช้ช่องทางอื่นๆ เพื่อนำเสนอ
ทั้งการมีบทบาทร่วมกับภาคประชาชน เมื่อถามถึงการ ขั บเคลื่อนงานในฐานะฝ่ายค้าน มองว่าพรรคก้าวไกลควร
รับตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรหรือไม่ นายกัณวีร์กล่าวว่า ตนได้ออกรายการร่วมกับนายวิโรจน์
ลักขณาอดิศร สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ได้ทราบว่าพรรคก้าวไกลต้องคุยกันให้ชัดเจนหลังจากที่มีพระ
บรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้นายเศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกฯ โดยนายวิโรจน์ ระบุว่าต้องชั่งน้ำหนักให้ดี
ระหว่างผู้นำฝ่ายค้านกับตำแหน่งรองประธานสภาฯ คนที่หนึ่ง ว่าตำแหน่งใดจะทำงานได้มากน้อยกว่ากัน
ดังนั้น เมื่อพรรคก้าวไกลพิจารณาแล้ว อาจเชิญพรรคร่วมฝ่ายค้านไปหารือว่าจะเดินหน้าอย่างไร เมื่อถามว่า
ส่วนตัวเชียร์ตำแหน่งใดมากกว่ากันระหว่างผู้นำฝ่ายค้าน กับ รองประธานสภาฯ คนที่หนึ่ง นายกัณวีร์
กล่าวว่า เชียร์ทั้งสองตำแหน่ง เพราะรองประธานสภาฯ คนที่หนึ่ง คือ รองประมุขนิติบัญญัติ ส่วนผู้นำ
ฝ่ายค้านมีบทบาทในการเสนอญัตติต่างๆ แต่หากจะเชียร์ ตนเชียร์ตำแหน่งรองประธานสภาฯ คนที่หนึ่ง
เพราะทำหน้าที่ได้เต็มที่จริงๆ แต่ตนเป็นพรรค 1 เสียง คงไม่ก้าวล่วงพรรคก้าวไกล โดยก่อนหน้านี้
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา ได้เผยแพร่ข้อความผ่านทางแพลตฟอร์ม X (เดิม:ทวิตเตอร์) โดยระบุว่า
“ผมไม่ลาออกง่ายๆหรอกครับ จบนะ” ทั้งนี้ จ า ก ก ร ณี ดั ง ก ล่ า ว มีการเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญ มาตรา 106
ระบุว่า ภายหลังที่คณะรัฐมนตรีเข้าบริหารราชการแผ่นดินแล้วพระม ห า ก ษั ต ริ ย์ จะทรงแต่งตั้ง สมาชิกสภา
ผู้แทนราษฎรผู้เป็นหัวหน้าพรรคการเมืองในสภาผู้แทนราษฎรที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุด และสมาชิกมิได้ดำรง
ตำแหน่งรัฐมนตรีประธานสภาผู้แทนราษฎร หรือรองประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้ นำ ฝ่ า ย ค้ า น ในสภาผู้แทนราษฎร